ตุรกี: สุเหร่าสีนํ้าเงิน บ้านภูเขาหินเจาะ ปราสาทปุยฝ้ายและเตอร์กิชเคบับ

The blue mosque, Istanbul

เรื่อง: พรรณพร อัชวรานนท์ ภาพ: ธนะ คำรณฤทธิศร

จากคอลัมน์ “Terminal EU” (TSVD: opnmnd Magazine #2 เบียร์)
The blue mosque, Istanbul


เมื่อมีโอกาสมาร่ำเรียนหรือทำงานในประเทศเยอรมนีหรือเขตประเทศเชงเก้น (Schengen) แล้ว น้อยคนนักอยากจะเดินทางท่องเที่ยวออกนอกเขตดังกล่าว เนื่องจากการสัญจรข้ามพรมแดนประเทศต่างๆ ภายในเขตแดนนี้มีความสะดวกสบายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทั้งยังไม่ต้องยุ่งยากกับการขอวีซ่าเข้าในแต่ละประเทศอีก หากแต่ในทวีปยุโรปยังมีอีกประเทศหนึ่งนอกเขตเชงเก้น ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า (อีกต่อไป) เนื่องจากประเทศไทยเพิ่งทำข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการยกเว้นการขอวีซ่า และนั่นคือ “ประเทศตุรกี” ดินแดนแห่งสองทวีป (ยุโรป-เอเชีย) นี่เอง…

 


ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยไม่ต้องขอวีซ่าเข้าประเทศตุรกี หากอยู่ไม่เกิน 30 วัน โดยทาง ต.ม. จะอนุญาตให้เข้าเมืองได้หลายครั้งภายในระยะเวลา 180 วัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 90 วัน เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวยังค่อนข้างใหม่ พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและตำรวจอาจยังไม่คุ้นเคยกับข้อตกลงนี้ เราขอแนะนำให้คนไทยที่จะเดินทางไปตุรกีพกเอกสารข้อตกลงติดตัวตลอดการเดินทางด้วย
ภาษาอังกฤษ http://bangkok.emb.mfa.gov.tr/ShowAnnouncement.aspx?ID=159498
ภาษาตุรกี http://bangkok.emb.mfa.gov.tr/ShowAnnouncement.aspx?ID=159500


 

เราวางแผนจะไปสถานที่หลักๆ แถบตะวันตกของประเทศตุรกีก่อนในทริปนี้ โดยเริ่มนั่งเครื่องบินจากเมืองชตุทท์การ์ท (ซึ่งมีชุมชนคนตุรกีมากเป็นอันดับต้นๆ ในเยอรมนี) ไปลงที่สนามบินอตาเติร์ก สนามบินหลักของอิสตันบูล (Istanbul) และเดินทางเข้าเมืองอิสตันบูลด้วยรถไฟใต้ดิน (M1) และรถราง (T1) เราเลือกพักอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากเมืองเก่า โชคดีที่ว่าสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในอิสตันบูลอยู่ในละแวกเดียวกัน สามารถเดินถึงกันได้สบายๆ และยังมีรถรางผ่านเกือบทุกจุดท่องเที่ยวเลยทีเดียว

 


Tip

ระวังนะคะ อย่าสับสนกับสนามบินที่อิสตันบูล เพราะที่นี่มี 2 สนามบินค่ะ
1. สนามบินนานาชาติอตาเติร์ก (Atatürk International Airport – IST) อยู่ในโซนยุโรปของเมืองอิสตันบูล เป็นสนามบินนานาชาติหลักของเมือง อยู่ห่างจากเมืองประมาณ 12 กิโลเมตร
2. สนามบินนานาชาติซาบิฮา เกิกเช่น (Sabiha Gökçen International Airport – SAW) อยู่ในโซนเอเชียของเมืองอิสตันบูล เป็นสนามบินรอง ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำและเครื่องบินภายในประเทศเป็นหลัก อยู่ห่างจากเมืองประมาณ 35 กิโลเมตร


 

หลังจากเดินทางเข้าตุรกีแล้ว เราอาจพบคำว่า “อนาโตเลีย” (Anatolia) อยู่บ่อยๆ นี่เป็นอีกหนึ่งคำที่เรียกเอเชียไมเนอร์หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งทางภูมิศาสตร์คือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศตุรกีนั่นเอง ดินแดนแห่งนี้ยังเป็นเหมือนสะพานเชื่อมสองทวีป ยุโรปกับเอเชีย และเป็นเส้นทางค้าขายสำคัญอีกเส้นมาตั้งแต่ในอดีต


เมื่อมาถึงอิสตันบูล เมืองใหญ่ที่สุดในตุรกี แน่นอนว่าเราหมายมั่นปั้นมือเต็มที่ที่จะไปชมสุเหร่าสีนํ้าเงิน (Sultan Ahmed Mosque) หรือที่คนทั่วโลกรู้จักกันในนามว่า บลูมอสก์ (Blue Mosque) สุเหร่าแห่งนี้เป็นสุเหร่าสุดท้ายในช่วงยุคคลาสสิก ซึ่งใช้เวลาสร้าง 7 ปี ช่วงสมัยสุลต่านอาห์เหม็ดที่ 1 ใน ค.ศ. 1609-1616 หลายคนมักถามว่า ทำไมถึงเรียกว่า บลูมอสก์ ทั้งๆ ที่ไม่เห็นมีสีนํ้าเงินเมื่อมองดูจากภายนอกเลย คำตอบคือ สีเหล่านั้นอยู่ข้างในค่ะ สุเหร่าแห่งนี้ถูกเรียกตามกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงินที่ตกแต่งอยู่ภายในตัวสุเหร่า (สุเหร่าเป็นคำภาษามลายู ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากภาษาเปอร์เซียน ในขณะที่มัสยิดเป็นคำภาษาอาหรับ แต่ความหมายทั้งสองคำไม่แตกต่างกันในบริบทของคนไทย) ในสุเหร่าจะมีบริเวณสำหรับผู้มาสวดมนต์ สังเกตได้จากบริเวณที่มีโคมไฟระย้าห้อยลงมาต่ำเป็นพิเศษ การเยี่ยมชมสุเหร่าแห่งนี้ไม่เก็บค่าเข้าใดๆ นะคะ หากแต่ต้องถอดรองเท้าเข้าชมตามธรรมเนียมปฏิบัติค่ะ

{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey2.jpg}The blue mosque{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey3.jpg}Inside the blue mosque{/modal}


คนส่วนใหญ่มักสับสนว่าอิสตันบูลเป็นเมืองหลวงของประเทศตุรกี หากแต่ที่จริงคือกรุงอังการา (Ankara) ซึ่งอยู่ตอนเหนือของประเทศ จริงอยู่ว่าอิสตันบูลเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิไบแซนไทน์ (ในชื่อกรุงคอนสแตนติโนเปิล) และศูนย์กลางของจักรวรรดิออตโตมัน ในช่วง ค.ศ. 1453-1923  แต่เมื่อตุรกีเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ จึงย้ายเมืองหลวงมาที่กรุงอังการา



{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey4.jpg}{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey4.jpg}Hagia Sofia{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey5.jpg}Inside Hagia Sofia{/modal}

 

ใกล้ๆ กับสุเหร่าสีนํ้าเงิน (ซึ่งดูภายนอกเป็นสีเทาด้วยซํ้า) ยังมีสุเหร่าอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งภายนอกจะมีสีแดงๆ ส้มๆ ป้ายไว้ตามอาคารอย่างไม่ตั้งใจ นี่คือ ฮาเกีย โซเฟีย (Hagia Sophia) หรือ สุเหร่า/วิหารเซนต์โซเฟีย 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางและมีประวัติศาสตร์อันน่าทึ่งมายาวนาน สุเหร่าแห่งนี้มีความสำคัญตรงที่เคยเป็นโบสถ์ทางศาสนาคริสต์มาก่อน สร้างในสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนตินเมื่อคริสตศตวรรษที่ 13 แต่ถูกทำลายและสร้างขึ้นใหม่หลายครั้ง เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม เมื่อพระเจ้าโมฮัมเหม็ดที่ 2 ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม มีอำนาจเหนือดินแดนแห่งนี้ จึงดัดแปลงให้เป็นสุเหร่าในที่สุด โดยหนึ่งในวิธีดัดแปลงที่น่าสนใจและยังคงสภาพให้เห็นอยู่ประปราย คือซากการโบกปูนทับรูปวาดของศาสนาคริสต์และประดับตราสัญลักษณ์ของอิสลามไว้แทน ปัจจุบันสุเหร่าแห่งนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม

 


รู้หรือไม่???

กรุงคอนสแตนติโนเปิลหรืออิสตันบูลทุกวันนี้ เป็นเมืองหลวงของสี่อาณาจักร (เรียงกัน) มาก่อน นั่นคือ จักรวรรดิโรมันซึ่งย้ายเมืองหลวงจากกรุงโรมมาที่นี่เมื่อ ค.ศ. 330, จักรวรรดิไบแซนไทน์, จักรวรรดิละติน และจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งศาสนาคริสต์เอง (หลากหลายนิกาย) มีบทบาทสำคัญในดินแดนนี้มาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมันจนถึงจักรวรรดิละติน แต่เมื่อจักรวรรดิออตโตมันเข้าครอบครอบดินแดนแห่งนี้เมื่อ ค.ศ. 1453 ก็ได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาด้วยและเปลี่ยนโบสถ์คริสต์ฮาเกีย โซเฟีย ให้เป็นสุเหร่าในศาสนาอิสลาม และที่สำคัญคือ เปลี่ยนชื่อเรียกกรุงคอนสแตนติโนเปิลให้เป็นอิสตันบูลในที่สุด


 

{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey6.jpg}Bacilica Cistern{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey7.jpg}Medusa in Bacilica Cistern{/modal}

 

จากนั้นไม่ไกล เรามุดดินลงไปชมบาซิลลิกา ซิสเทิร์น (Basillica Cistern) ที่เก็บนํ้าขนาดใหญ่ที่สุดในอิสตันบูล (จุนํ้าได้ 80,000 ลูกบาศก์เมตร) สร้างตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 สมัยจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่เก็บนํ้าแห่งนี้ใหญ่โตมโหฬารมาก สมัยก่อนนํ้าจากที่นี่ถูกส่งไปใช้รอบๆ เมืองเก่า โดยเฉพาะในพระราชวัง ตั้งแต่สมัยที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้การแล้ว  หลายคนลงมาใต้ดินแห่งนี้เพื่อมาดูหัวแม่นางเมดูซ่า 2 หัว ที่ตั้งเป็นฐานเสาของที่เก็บนํ้า บ้างว่าหัวทั้งสองคอยปกปักรักษาแหล่งนํ้าของเมือง (เนื่องจากความเชื่อที่ว่าใครจ้องตาเมดูซ่าแล้วจะกลายเป็นหิน) บ้างก็ว่าหัวเมดูซ่าคู่นี้ถูกย้ายลงมาเมื่อสมัยโรมันล่มสลายลงและมีขนาดเหมาะเจาะที่จะเป็นฐานเสาที่เก็บนํ้าพอดี

Turkish Bad

 

 


 

 

เตอร์กิชบาธ (Turkish Bath) หรือ ฮามัม (Hamam) คือ การอาบนํ้าในห้องอบไอนํ้า แท้จริงตั้งแต่อดีตกาลใช้เรียกโรงอาบนํ้าสาธารณะ ซึ่งเป็นสถานที่ผ่อนคลาย และที่พบปะของผู้คนตั้งแต่ในอดีต วิธีอาบตามหลักจะเริ่มจากผ่อนคลายร่างกายในห้องอุ่น (warm room) ภายในห้องจะมีลมร้อนๆ แห้งๆ ไหลเวียนเพื่อให้รูขุมขนคลายและเหงื่อออก หลังจากนั้นจะย้ายไปห้องร้อน (hot room) สักพักก็เข้าห้องอาบนํ้าเย็น (cold water) เพื่อกระชับรูขุมขนและชำระร่างกายให้สะอาด ตามด้วยการนวดร่างกายและย้ายไปอยู่ในห้องเย็น (cooling-room) เพื่อผ่อนคลายร่างกายในขั้นตอนสุดท้าย

 


 

 

 

 

เมื่อพูดถึงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิออตโตมันแล้ว จะไม่กล่าวถึงพระราชวังของสุลต่านก็จะกระไรอยู่ พระราชวังท็อปคาปิ (Topkapi Palace) ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กันนี้ เป็นที่ประทับหลักของสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันมากว่า 400 ปี ภายในพระราชวังใหญ่โตมโหฬารมาก มีห้องหับเป็นร้อยๆ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าตามร้อยๆ กว่าห้องนี้ มีทั้งสุเหร่า โรงพยาบาล ห้องอบขนม แม้กระทั่งโรงกษาปณ์ ฯลฯ ปัจจุบันพระราชวังแห่งนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเปิดให้ชมอยู่ไม่กี่ห้อง ไม่ว่าจะเป็นท้องพระโรง ห้องเก็บสมบัติ และบริเวณที่เลื่องลือดึงดูดให้คนทั่วโลกมายลก็คือ “ฮาเร็ม (Harem)” จะมีสักกี่คนทราบว่าฮาเร็มหลังแรกนั้นเกิดขึ้นในอาณาจักรออตโตมันในศตวรรษที่ 13 นี่แหละ และฮาเร็มที่มีชื่อที่สุดและใหญ่ที่สุด ก็คือฮาเร็มในพระราชวังท็อปคาปินี่เอง

 

{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey9.jpg}Topkapi Palace{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey10.jpg}Topkapi Palace{/modal}

 



รู้ไว้ใช่ว่า…
ความหมายที่แท้จริงของฮาเร็ม คือ สถานที่ต้องห้ามสำหรับบุรุษ (ไม่นับสามี ซึ่งจะมีแค่คนเดียวในที่นั้นๆ) และเป็นบริเวณสำหรับสตรีโดยเฉพาะในครอบครัวที่มีภรรยาหลายคน เหตุผลที่แท้จริงที่ต้องมีฮาเร็มนั้น ก็เพื่อทำตามคำสอนของศาสนาอิสลาม ที่ห้ามไม่ให้คนแปลกหน้าเห็นหน้าภรรยา ลูกสาวหรือข้าทาสสาว เลยต้องกั้นบริเวณพิเศษนี้ขึ้นมา แต่เวลาพูดถึงฮาเร็ม เราก็มักนึกถึงจำนวนสาวๆ มากมายรวมไปถึงความมั่งมีหรูหรา คนส่วนใหญ่เลยจะนึกถึงฮาเร็มของสุลต่านเสียมากกว่า ว่ากันว่าสุลต่านแต่ละองค์มีสาวๆ ในสต็อกเกือบ 300 ชีวิตเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี สาวๆ ในฮาเร็มไม่ได้มีชีวิตที่สนุกสนานสำราญอย่างที่คิดกัน เพราะนอกจากต้องพยายามปรนนิบัติองค์สุลต่านเต็มที่แล้ว ยังต้องคอยหลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้งกันเองอีก ทั้งจะออกไปไหนก็ไม่ได้ ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากการลงกลอนใส่กุญแจจากภายนอกอย่างแน่นหนา ว่าแล้วสาวๆ แถวนี้คงจะเปลี่ยนใจกันเกือบไม่ทันเลยเชียว

{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey11.jpg}Harem{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey12.jpg}Harem in Topkapi Palace{/modal}

 



มาว่าเรื่องอาหารการกินกันบ้าง… ที่เห็นเด่นๆ กินง่ายๆ และมีขายทั่วไปทั้งอยู่ในตู้และเทินอยู่บนศีรษะคนขาย คือ ขนมปังซิมิท (Simit) รูปร่างหน้าตาคล้ายขนมปังเบเกลโรยงา (คนอเมริกันเองยังเรียกขนมปังซิมิทว่า Turkish Bagel) ชาวตุรกีชอบกินขนมปังชนิดนี้คู่กับชาดำตุรกีกันมาก บ้างอาจรับประทานในตอนเช้าคู่กับแยมหรือชีส แต่ส่วนใหญ่มักรับประทานกันเปล่าๆ มากกว่า นอกจากนั้นเรายังมีเครื่องดื่มแปลกๆ มาแนะนำกัน คือ ไอราน (Ayran) เครื่องดื่มเย็นทำจากโยเกิร์ตผสมนํ้าเย็น เหยาะเกลือเล็กน้อย คนตุรกีดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้กันเกือบทุกครัวเรือน ทั้งประเทศตุรกีเองก็เป็นผู้ผลิตรายใหญ่สุดของโลกอีกด้วย

 

Simit Bread

แหล่งซื้อสินค้าและของที่ระลึกในอิสตันบูลที่เด็ดๆ คือ แกรนด์บาซาร์ (Grand Bazaar) บาซาร์เป็นภาษาเปอร์เซีย แปลว่า ตลาด นั่นเอง… ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดเก่าแก่สร้างตั้งแต่สมัยกลาง เมื่อ ค.ศ. 1461 ว่ากันว่าเป็นหนึ่งในตลาดในร่มที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก (มีซอกซอยกว่า 60 ซอย ร้านค้ากว่า 5,000 ร้าน) มีข้าวของเครื่องใช้ศิลปะแบบตุรกีขายทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นของเก่า เครื่องแก้วเซรามิก เครื่องหนัง โคมไฟระย้าหลากสี เครื่องประดับ โดยเฉพาะพรมเปอร์เซียและทองที่มีร้านมากมายและเรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดในตุรกี แน่นอนว่าเราควรต่อรองราคาให้พอสมนํ้าสมเนื้อ วิธีอมตะคือการต่อราคาแล้วเดินหนีก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน ที่ตุรกีใช้หน่วยเงินเตอร์กิช ลีร่า (Turkish Lira) หรือ TRY ซึ่ง 1 TRY เท่ากับ 17 บาท (ตุลาคม 2555) แต่หากใครไม่อยากเสียเงินซื้อข้าวของก็สามารถไปนั่งชิมกาแฟตุรกีรสเข้มไม่เหมือนใคร หรือชาดำ ชาแอปเปิ้ลที่เลื่องลือของตุรกีได้ตามร้านกาแฟหน้าตาโบราณเช่นเดียวกัน

 

{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey14.jpg}Grand Bazaar{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey15.jpg}Grand Bazaar{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey16.jpg}Grand Bazaar{/modal}

 

 


เวลาเราสนใจสินค้าพวก พรมเปอร์เซีย ทอง เครื่องหนัง ฯลฯ พ่อค้ามักจะทักทายเราและเรียกเข้าไปนั่งในร้านก่อน แล้วจึงเสิร์ฟชาให้นั่งผ่อนคลาย ตามด้วยการนำสินค้ามาเสนอขายชิ้นต่อชิ้น ถ้าใครถูกเชื้อเชิญให้เดินเข้าร้านเช่นนี้ อย่าเพิ่งตกใจกันไปนะคะ เพราะนี่คือแบบปฏิบัติในการขายของของชาวตุรกีมาแต่ไหนแต่ไรแล้วค่ะ


 

 

{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey17.jpg}Egyptian spice bazaar{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey18.jpg}Egyptian market spice{/modal}

 

เรายังมีตลาด (ของกิน) อีกที่ที่อยากแนะนำ นั่นคือตลาดนัดเครื่องเทศ (Egyptian Spice Bazaar) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแกรนด์ บาซาร์ ตลาดแห่งนี้มีของขายตื่นตาตื่นใจไม่แพ้แห่งแรกแม้แต่นิดเดียว หากแต่เน้นที่สมุนไพรและเครื่องเทศหลากสี ถั่วหลากชนิด ผลไม้สด ผลไม้อบแห้งหลายแบบ แต่ที่แปลกตาที่สุดคงเป็นขนมก้อนสี่เหลี่ยมตัดเสมือนเยลลี่เหนียวใสหลากสี คลุกแป้งขาวๆ หรือมะพร้าว รสชาติหวานๆ เรียกว่า เตอร์กิช ดีไลท์ (Turkish Delight) หรือ โลคุม (Lokum) รสหลักๆ คือ สีแดงรสกุหลาบ สีเหลืองรสมะนาว และสีเขียวรสเปลือกส้ม ต้องลองชิมกันดูว่าจะสุขียินดีปรีดาเฉกเช่นชื่อเรียกกันหรือเปล่า นอกจากนั้น ยังมีขนมหวาน (จับจิตจับใจจริงๆ) นั่นคือ บาคลาว่า (Baklava) ให้ลองลิ้มชิมรส ลักษณะเหมือนพายชั้นอัดแน่นสอดไส้ด้วยถั่วบด (ที่เด็ดดวงคือถั่วพิสตาชิโอ) โดยทุกคำที่กัดลงไปจะชุ่มฉ่ำไปด้วยนํ้าเชื่อม (ถึงว่า… หวานจริงๆ) เชื่อกันว่าขนมบาคลาว่ามีต้นกำเนิดอย่างเป็นทางการจากพระราชวังท็อปคาปิในยุคจักรวรรดิออตโตมันมาก่อน ขนมชนิดนี้จะอร่อยเป็นพิเศษหากรับประทานคู่กับชาตุรกีหอมๆ ร้อนๆ แถมยังได้แรงเวลาเหนื่อยหนาวจากการเดินเที่ยวอีกด้วย

 

{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey19.jpg}Baklava{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey20.jpg}Turkish Delight{/modal}

 

 


คนตุรกีจะดื่มชาในแก้วใสเล็กๆ รูปร่างเหมือนดอกทิวลิป เรียกว่า ไช (çay) เป็นชาดำไม่ใส่นม แต่ใส่นํ้าตาลตามใจคนดื่ม รสชาติหอมขมนิดๆ ชานี้ปลูกกันตามชายฝั่งตะวันออกของทะเลดำ และเริ่มเป็นที่นิยมเนื่องจากกาแฟหายากหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา ชาตุรกีอยู่คู่กับสังคมวัฒนธรรมของชาตินี้มาช้านาน ดังจะเห็นจากการเชิญชวนให้แขกดื่มชาดังกล่าว เพื่อแสดงถึงการต้อนรับขับสู้อย่างเต็มที่จากเจ้าของบ้าน นอกจากชาดำ ยังมีชาสมุนไพรให้เลือกสรรเพิ่มเติม โดยรสที่นิยมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชาดำคือรสแอปเปิ้ลหอมกรุ่น

 

Turkish Tea & Apple Tea{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey22.jpg}Turkish Tea{/modal}


 

เดินออกมาจากตลาดเครื่องเทศ เราจะเห็นลานกว้างๆ ถัดมาคือสุเหร่านิวมอสก์ (New Mosque) และสะพานกาลาตา (Galata) ซึ่งเราแนะนำเป็นอย่างสูงให้ข้ามสะพานไป เพราะนอกจากเราจะเห็นวิวสวยๆ ของเมืองเก่าทั้งสองฝั่ง รวมทั้งช่องแคบบอสฟอรัส (Bosphorus) ที่เป็นพรมแดนธรรมชาติแบ่งอิสตันบูลออกเป็นยุโรปและเอเชียแล้ว เรายังจะเห็นวิถีชีวิตของคนอิสตันบูลที่รักการตกปลา (มีคนตกปลาตั้งแต่ริมสะพานด้านหนึ่งไปจนถึงอีกด้านเลยทีเดียว) ซึ่งถ้าข้ามสะพานมาแล้วจะเห็นตลาดและสะพานปลาขายกันสดๆ พร้อมปรุงตรงนั้นเลย ยิ่งถ้ามีโอกาสได้ลิ้มลองอาหารทะเลที่นี่แล้ว บอกได้ว่าสดอร่อยแบบไม่ต้องพึ่งนํ้าจิ้มซีฟู้ดบ้านเราจริงๆ ค่ะ

 

 

{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey23.jpg}Bosphorus Channal{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey24.jpg}@Bosphorus Channal{/modal}

 


เนื่องจากตุรกีเป็นประเทศที่ใหญ่ (มากกก… ลากเสียงยาว) เราจึงเลือกนั่งสายการบินต้นทุนตํ่า เพกาซัส แอร์ไลน์ (Pegasus airline) จากอิสตันบูลมายังสนามบินเมืองไคเซรี (Kayseri) และเช่ารถต่อตลอดการเดินทางในช่วงนี้ เราขับรถจากเมืองไคเซรีไปยังดินแดนคัปปาโดเกีย (Cappadocia) แผ่นดินที่มี
ภูมิประเทศพิเศษไม่มีแห่งใดเหมือนเกิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟเมื่อ 3 ล้านปีก่อน เมื่อลาวาไหลออกมาก็กระจายไปทับถมกลายเป็นแผ่นดินชั้นใหม่ ประกอบกับการกัดเซาะจากลม ฝน แดด หิมะ และที่สำคัญคือกระแสนํ้ามานานกว่าล้านปี จึงเกิดเป็นหินสารพัดรูปทรง ไม่ว่าจะเป็นรูปกระโจม ปล่อง กรวย ฯลฯ แลดูเหมือนในเทพนิยาย จนคนพื้นเมืองเรียกกันว่าดินแดนแห่ง “ปล่องไฟนางฟ้า (Fairy Chimney)” ซึ่งใน ค.ศ. 1985 พื้นที่นี้ก็ได้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมแห่งแรกของตุรกี โดยเราเริ่มต้นที่เมืองเกอเรเม่ (Göreme) ศูนย์กลางหลักของดินแดนคัปปาโดเกีย ถ้ามีเวลาไม่มากและอยากเห็นภูมิทัศน์หลักของที่นี่ เราขอแนะนำให้ไปพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเกอเรเม่ (Göreme open air museum) เพราะจะได้เห็นสถาปัตยกรรมโบราณอันน่าทึ่ง นั่นคือ การขุดเจาะถํ้าหินเข้าไปสร้างโบสถ์เมื่อศตวรรษที่ 4 ซึ่งตามฝาผนังจะมีจิตรกรรมโบราณของนักบวชเต็มไปหมด เนื่องจากถํ้าต่างๆ เกิดจากลาวาและหินที่ยังไม่แข็งตัวเต็มที่ ชาวบ้านเลยใช้โอกาสนี้ขุดเจาะทำเป็นโบสถ์และบ้านเรือนไปทั่วดินแดน ที่นี่มีบริการบอลลูนพานักท่องเที่ยวไปชื่นชมดินแดนคัปปาโดเกียในมุมกว้างเช่นเดียวกัน สนนราคาประมาณ 150 ยูโรต่อคนต่อชั่วโมง (ตุลาคม 2555) ราคานี้มักจะรวมประกันภัยเรียบร้อยแล้ว มาอยู่แถวนี้ทั้งที ถ้าไม่ลำบากนัก เราแนะนำให้ลองพักค้างคืนในโรงแรมที่ทำห้องพักคล้ายภูเขาหินเจาะ จะได้ทราบว่าคนท้องถิ่นสมัยก่อนเขาอยู่กันอย่างไร

 

Cappadocia

GoremeCappadocia


อีกเมืองไม่ไกลจากเกอเรเม่คือเมืองอุซฮิซาร์ (Uchisar) ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ยกสูงที่สุดในแถบนี้ สังเกตเห็นได้แต่ไกล เพราะลักษณะเมืองเป็นก้อนหินใหญ่มหึมาอยู่ใจกลางเมือง นั่นคือปราสาทแห่งเมืองอุซฮิซาร์ โดยชาวบ้านขุดเจาะเข้าไปภายในเพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัย หากแต่ยังคงสภาพภายนอกไว้ให้เหมือนตามธรรมชาติ ถ้าดูข้างนอก จะเห็นเป็นก้อนหินใหญ่น่าเกลียด แต่แท้จริงแล้วมีผู้คนอาศัยอยู่ เป็นเมืองหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเลยทีเดียว อาจสงสัยว่าทำไมผู้คนสมัยก่อนไม่สร้างบ้านปกติอยู่กัน เหตุที่แท้จริงเพราะตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล ดินแดนนี้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโรมัน ชาวโรมันต้องการกำจัดชาวคริสเตียนที่อาศัยอยู่แต่เดิม ชาวบ้านเลยต้องหลบหนีการรังควานของชาวโรมัน จึงสร้างโบสถ์คริสต์ขึ้นมาที่เกอเรเม่ ทั้งยังต้องเจาะถํ้า ขุดดินลงไปให้เป็นห้องหับอาศัยกัน ในที่สุดก็เกิดเมืองใต้ดินขึ้นมาหลายแห่งในแถบนี้ แต่ที่เราไปชมกัน คือ เมืองใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณดังกล่าว ไคมัคลี (Kaymakli Underground City) จากทางเข้าที่ดูเหมือนไม่มีอะไรอยู่ข้างใต้ เรามุดลงไปพบกับเรื่องราวในอดีตอันเหลือเชื่อ เมืองใต้ดินนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านกว่า 5,000 คน เพื่อหลบซ่อนศัตรู มีทั้งหมด 8 ชั้นลึกลงไปใต้ดิน (ราว 85 เมตร)  แต่เปิดให้เข้าชมเพียง 4 ชั้นเท่านั้น โดยชั้นที่ลึกสุดที่เปิดให้ดูอยู่ที่ 20 เมตรลงไปใต้ดิน ห้องหับแบ่งเป็นโบสถ์ ห้องนอน ห้องครัว ห้องอาหาร ห้องถนอมอาหาร ห้องบ่มไวน์ ห้องเลี้ยงสัตว์ (อยู่ชั้นบนสุดเนื่องจากลำบากในการขนย้าย) ใครๆ ก็มักฉงนกับเรื่องการถ่ายเทอากาศใต้ดิน แต่พื้นที่ดังกล่าวเกิดจากภูเขาไฟมาก่อน รูพรุนของหินภูเขาไฟจึงรักษาอุณหภูมิไว้ได้ และหมุนเวียนอากาศได้ดี จึงเกิดระบบระบายอากาศธรรมชาติอันน่าพิศวงขึ้นมา

Uchisar{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey29.jpg}Kaymakli Underground City{/modal}

 

 

Mevlava Dance

 

 

 

 

 

ผ่านมาแถวเมืองคอนย่า (Konya) เราต้องขอแวะชมการแสดงพื้นเมืองหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ ระบำเมฟลานา (Mevlana) เป็นการระบำในพิธีเฉลิมฉลองเพื่อรำลึกถึงเมฟลานาผู้ก่อตั้งนิกายเมฟเลวี (Mevlevi) (คือยอดกวีแห่งตุรกี หลายคนเชื่อว่าเป็นผู้วิเศษแห่งอิสลามเพราะสามารถชักชวนคริสตชนให้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามได้จำนวนมาก) ด้วยการเต้นรำเซม่า (Sema Dance) ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเหล่าสาวกสำนักจะสวมชุดกระโปรงยาวบานสีขาว สวมหมวกทรงกระบอก ออกมาร่ายรำหมุนตัวไปรอบๆ ให้เข้ากับจังหวะดนตรีที่มีท่วงทำนองลี้ลับ อันแสดงออกซึ่งความตายและการรวมเข้ากันเป็นหนึ่งกับพระอัลเลาะห์

 

 

 

 

 

 

 

 


อีกหนึ่งอย่างที่พลาดไม่ได้ คือ การชมระบำหน้าท้อง (Belly Dance) แท้จริงสิ่งนี้เกิดในแถบประเทศอียิปต์มากว่า 6,000 ปีแล้ว ว่ากันว่าชนเผ่ายิปซีคือกลุ่มที่สืบทอดการแสดงนี้มาจนถึงปัจจุบัน เป็นการร่ายรำที่เน้นการเคลื่อนไหวของสะโพกและกล้ามเนื้อส่วนท้อง โดยใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวแบบแยกส่วน ผู้แสดงเป็นหญิง มักแต่งกายด้วยเสื้อคล้ายชุดชั้นในของผู้หญิงและพันผ้าบางๆ รอบเอวประกอบการพลิ้วไหว หนุ่มๆ บางคนถึงขั้นหัวใจจะวายได้เลยค่ะ


 

 

{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey31.jpg}Chimera{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey32.jpg}Chimera{/modal}

 

สำหรับคนที่ชื่นชอบธรรมชาติและปรากฏการณ์ (เหนือ) ธรรมชาติ เราแนะนำให้ไปเที่ยวที่ยานาร์ตัส (Yanartas) ซึ่งมี The Chimaera: Eternal Flames หรือ Flaming Rocks อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติใกล้จังหวัดอันตัลยา (Antalya)  บริเวณเหนือหมู่บ้านชิราลี (Çirali) ในหุบเขาโอลิมพอส (Olympos) มีลักษณะพิเศษทางภูมิศาสตร์เกิดขึ้น คือ มีเปลวไฟลุกจากก้อนหินตามภูเขาทั่วทั้งลูก ตลอดทั้งวันทั้งคืน ที่แปลกคือเราไม่เห็นแม้แต่เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดไฟเลย กล่าวกันว่าไฟลุกออกมาได้ เพราะภายในภูเขาเกิดก๊าซจากนํ้าใต้ดินและการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศภายใน จึงไหลออกมาตามซอกภูเขาและลุกไหม้มากว่า 2,500 ปีแล้ว การไปชมไม่ยากเลยค่ะ เพียงแต่ต้องเริ่มเดินจากตีนเขาในอุทยานขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตร (เสียใจด้วยนะคะ… รถเข้าไม่ถึง ต้องเดินเท่านั้นเลย) เสียค่าเข้าชมประมาณ 4 TRY หลายสำนักแนะนำให้ไปตอนกลางคืนที่สามารถเห็นไฟพวยพุ่งออกมาอย่างชัดเจน แต่เราห่วงเรื่องความปลอดภัย จึงตัดสินใจไปตอนกลางวัน เลยได้ของแถมเป็นวิวสองข้างทางและวิวทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ลิบๆ

 

 

Evil Eye

 

 

 

 

ของที่ระลึกเป็นลูกหินกลมๆ รูปตาสีฟ้าที่พบได้ทั่วตุรกี คือ Evil eye ค่ะ ชาวตุรกีเชื่อว่าเครื่องรางนี้สามารถป้องกันดวงตาแห่งความชั่วร้าย (ความประสงค์ร้ายสามารถส่งผ่านตาได้) ชาวบ้านจึงสร้างดวงตาสีฟ้านี้เพื่อขับไล่ดวงตาแห่งความอิจฉาริษยาที่คอยจ้องทำลายให้เกิดสิ่งที่ไม่ดีขึ้น โดยมักแขวนไว้ตามบ้านเรือนโดยเฉพาะตรงทางเข้าบ้าน ซึ่งความเชื่อนี้ได้แพร่ขยายไปทั่วแถบตะวันออกกลาง ทะเลอีเจียน  และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ดังจะเห็นได้ในประเทศเพื่อนบ้านของตุรกี เช่น กรีซ ก็มีดวงตาสีฟ้านี้วางขายดาษดื่นเช่นเดียวกัน

 

 

 

 

ใครอยากไปเห็นสรวงสวรรค์ของคนโรมันสมัยก่อน ต้องไปปราสาทปุยฝ้ายหรือปามุคคาเล (Pamukkale: Cotton Castle) อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวใกล้จังหวัดเดนิสลี (Denizli) ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวไม่น้อย เนื่องจากแปลกตาจนไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นบนโลก หากแต่อย่าผิดหวังกับสภาพที่แท้จริงในทุกวันนี้ เพราะถ้าดูรูปเก่าๆ เราจะเห็นภาพของเนินเขาสีขาวเป็นแอ่งๆ มีนํ้าสีฟ้าใสอยู่ภายใน แต่ละชั้นลดหลั่นกันเสมือนเป็นขั้นบันไดหรือระเบียงสวรรค์ก็ไม่ปาน แต่ตอนนี้ เราจะไม่เห็นนํ้าสีฟ้าล้นเอ่ออยู่ในแอ่งมากมายอย่างในอดีต เนื่องจากนํ้าพุร้อนมีน้อยลง ทางการเลยสลับการไหลของนํ้าพุร้อนให้ไหลลงบางแอ่งเท่านั้น ทั้งยังต้องถอดรองเท้าเดินเพราะทางการกลัวว่าพื้นรองเท้าจะไปทำลายหินปูนเอา โดยคนที่มาเที่ยวจะแช่ตัวอยู่ตามแอ่งนํ้าสีฟ้า เนื่องจากเชื่อกันว่าเป็นนํ้าแร่มีสรรพคุณพิเศษ อย่าสงสัยกันไป… เนินเขาสีขาวนั้น เกิดจากนํ้าพุร้อนที่นำแคลเซียมคาร์บอเนตมาตกตะกอนและก่อตัวขึ้นมาเป็นชั้นๆ แลดูเหมือนปราสาทปุยฝ้ายตามชื่อ ว่ากันว่าหลังจากชาวโรมันค้นพบเนินเขาสีขาวที่เต็มไปด้วยแหล่งนํ้าร้อนตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล ก็เนรมิตที่แห่งนี้ให้เป็นเมืองสปาของตน ดังจะเห็นได้จากซากปรักหักพังที่อยู่ข้างบนสุดของยอดเขาที่ชื่อว่า เมืองโบราณเฮียราโพลิส (Hierapolis) ซึ่งเป็นมรดกโลกร่วมกับปามุคคาเลในปี ค.ศ. 1988

 

{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey34.jpg}Pamukkale{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey35.jpg}Pamukkale{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey36.jpg}Pamukkale{/modal}{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey37.jpg}Hierapolis{/modal}

 

 

Lycian Tomb

 

 

อีกสถานที่แปลกตา คือ โบราณสถานของชาวไลเคียน (Lycian) ตั้งแต่ช่วงต้นยุคสำริด ทางภาคใต้ของประเทศ ภูมิภาคไลเคียนี้ มีชาวไลเคียนอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล โดยศิลปะที่เห็นได้ชัดเจนตามภูเขา คือ สถาปัตยกรรมแบบหินตัด (Rock-Cut) เป็นการเจาะหินเข้าไปเป็นห้องๆ ในภูเขา เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งในภูมิภาคนี้เราจะเห็นที่ฝังศพในภูเขา (Rock-Cut Tomb) เต็มไปหมด ผู้ที่จะมีหลุมศพตามภูเขาได้ ต้องเป็นคนสำคัญหรือร่ำรวยอยู่ไม่น้อยในอดีต โดยเราขอแนะนำให้ไปดูที่เมืองไมร่า (Myra) และดัลยัน (Dalyan) แต่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงสุดที่เมืองเฟทิเย (Fethiye) ในตุรกีตอนใต้นี่เอง

 

 

 

Atatürk

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในประเทศตุรกี เรามักจะพบบุคคลหนึ่งในรูปภาพหรือตามอนุสาวรีย์ได้โดยทั่ว บ้างก็ถึงขั้นแกะสลักหน้าท่านไว้บนภูเขาทั้งลูกเลยก็มี… บุคคลผู้นั้น คือ มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก (Mustafa Kemal Atatürk – นิยมเรียกว่า อตาเติร์ก แปลว่าบิดาของชาวเติร์ก) ท่านเป็นผู้สถาปนาสาธารณรัฐตุรกีและเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐตุรกี ทั้งยังเป็นบุคคลสำคัญในการกอบกู้เอกราชของตุรกีและปฏิรูปประเทศชาติในหลายด้าน โดยเปลี่ยนแปลงประเทศจากจักรวรรดิออตโตมันเดิม ให้เป็นรัฐชาติแบบใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยและไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา


ใกล้จะเสร็จสิ้นการเดินทางแล้ว เราขอแวะไปดูซากเมืองโรมันโบราณเอเฟซุส (Ephesus) ซึ่งในอดีตเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของโรมันบนคาบสมุทรอนาโตเลีย เรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงแห่งเอเชียของอาณาจักรโรมันเลยทีเดียว อาคารที่เป็นสัญลักษณ์ของที่นี่เห็นจะเป็นห้องสมุดของเซลซุส (Library of Celsus) ด้านหน้าอาคารยังคงสมบูรณ์อยู่ (เนื่องจากสร้างขึ้นมาใหม่จากชิ้นส่วนดั้งเดิม) มีรูปปั้นเทพีทั้งสี่ ตัวแทนแห่งปัญญา ความดี ความคิดและความรู้  ภายในมีห้องหนังสือและช่องเก็บหนังสือกว่า 12,000 ม้วน ห้องสมุดแห่งนี้สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่นายกเทศมนตรีทิเบอริอุส ยูลิอุส เซลซุส โพเลเมอานุส (Tiberius Julius Celsus Polemaeanus) ภายใต้ห้องสมุดแห่งนี้มีหลุมฝังศพของท่านอยู่ด้วย อีกแห่งที่ผู้มาเอเฟซุสอาจจะผิดหวังเล็กน้อย คือ วิหารอาร์เทมิส (Temple of Artemis) หนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ มีเสามากมายถึง 127 ต้น ว่ากันว่ามีขนาดใหญ่โตกว่าวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) ในเอเธนส์ด้วยซํ้า แต่วิหารนี้ถูกทำลายลงหลายครั้ง ทั้งยังไร้คนเหลียวแล เนื่องจากเมื่อศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพล ผู้คนก็ละทิ้งการเคารพบูชาเทพเจ้าโรมัน จนปัจจุบันนี้น่าใจหายเป็นที่สุด เพราะหลงเหลือแค่เสาเพียงต้นเดียวเท่านั้น นอกจากนี้วิหารแห่งจักรพรรดิเฮเดรียน (Temple of Hadrian) ก็เป็นอีกแห่งที่น่าไปยล เนื่องจากสถาปัตยกรรมยังสมบูรณ์อยู่มาก วิหารแห่งนี้สร้างเพื่อถวายแด่จักรพรรดิเฮเดรียนแห่งอาณาจักรโรมัน สถานที่ที่เราชอบ (มาก) และแอบเอามาฝากกัน คือ สุขารวมโบราณในสมัยนั้น (ขอเน้นว่า “รวม”) ซึ่งดูแล้วน่าลองไปปลดทุกข์อยู่ไม่หยอก เมืองโบราณแห่งนี้แลไปก็คล้ายๆ เมืองโบราณของกรีกโรมันทั่วไปในกรีซ หากแต่ความพิเศษของที่นี่คือ ซากเมือง ที่ในปัจจุบันยังมีหลงเหลือให้เห็นอยู่มาก ถือว่ายังสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกก็ว่าได้ เดินไปเดินมาแถวนี้ จะเห็นคนดื่มเบียร์เอเฟซ (Efes) ขวดป้อมๆ มีฉลากสีนํ้าเงิน กันเต็มไปหมด เห็นว่าเบียร์ยี่ห้อนี้ตั้งชื่อตามเมืองโบราณเอเฟซุสนี่แหละ โดยเกิดเมื่อราว ค.ศ. 1969 (แต่สำนักงานใหญ่อยู่ที่อิสตันบูล) และมีชื่อมากขนาดส่งออกไปตามประเทศเพื่อนบ้านเป็นทิวแถว ต้องลองชิมกันดูนะคะว่าจะสู้เบียร์แถวเยอรมนีได้หรือเปล่า

{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey40.jpg}Library of Celsus{/modal} EphesusToilets of EphesusTemple of Hadrian

 


จริงอยู่ว่าประชากรตุรกีเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม (นิกายสุหนี่ 80% และนิกายชีอะห์ 20%) แต่อาจเป็นเพราะประวัติศาสตร์ที่ถูกปกครองด้วยชาวโรมันมาก่อนและชนชาติที่อาศัยอยู่ไม่ใช่ชาวอาหรับ แต่เป็นชาวเติร์กราวๆ 80% และชาวเคิร์ดประมาณ 20% ทำให้ความเคร่งศาสนาอิสลามในตุรกีไม่สูงมาก จะเห็นได้จากจำนวนสุนัขที่มีให้เห็นโดยทั่วไป ทั้งอาหารที่มีเนื้อหมูยังหาได้ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ อีกมาก โดยอีกเหตุผลที่ส่งเสริม คือความใกล้เคียงและคุ้นเคยกับชาวตะวันตก เพราะตุรกีมีดินแดนบางส่วนอยู่ในทวีปยุโรป ทั้งยังมีอาณาเขตติดกับทวีปยุโรปอีกด้วย


 

Shish Kebab{modal url=http://www.jan-punnaporn.com/images/stories/turkey/BigImages/turkey45.jpg}Doner Kebab{/modal}


มาถึงดินแดนดั้งเดิมแห่งเคบับทั้งที  ถ้าไม่ลอง “เตอร์กิช เคบับ” เดี๋ยวจะหาว่ามาไม่ถึง เราเลยขอเล่าประสบการณ์ลองเคบับ อาหารประจำชาติตุรกีบ้าง เดอเนอร์ เคบับ หรือ Döner Kebab ในภาษาท้องถิ่นคือเนื้อเป็นชิ้นๆ (ของดั้งเดิมใช้เนื้อแกะ) วางทับกันเป็นก้อนแล้วเสียบแท่งเหล็กย่างในแนวตั้ง พอสุกก็เฉือนออกมากินกับแป้งขนมปังและผักสลัด (ที่ประเทศกรีซก็มีคล้ายๆ กันแต่เรียกว่า กีรอส – Gyros) เคบับทำได้หลายแบบ ถ้าแบบเดอเนอร์ เคบับ คือแบบหมุน แต่ ชิช เคบับ (Shish Kebab) คือ แบบเนื้อเป็นก้อนๆ เสียบไม้ย่างในแนวนอน (แบบบาร์บีคิว) และท่านผู้อ่านจะต้องไม่เชื่อแน่ๆ เพราะเราค้นพบว่า เตอร์กิชเคบับนั้น รสชาติไม่เหมือนเคบับที่เคยลิ้มรสกันตามที่อื่นๆ ตรงที่รสไม่ฉํ่าเนื้อเท่า อาจเป็นเพราะลักษณะของเนื้อและวิธีหมักเครื่องเทศที่ต่างกันไป อย่างไรก็ตามยังอยากแนะนำให้คนที่ไปเที่ยวตุรกีลิ้มลองกันอยู่ดี เพราะเดี๋ยวจะเหมือนว่ายังมาไม่ถึงจริงๆ ประมาณว่า “ไม่ลอง ไม่รู้” นะคะ

Cappadokia

 

นิตยสาร opnmnd ฉบับเต็มสามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่

 

Leave a Reply