The world is a book and those who do not travel read only one page. |
|
|
Written by Punnaporn Archawaranon
|
Saturday, 31 March 2012 16:18 |
„The world is a book and those who do not travel read only one page.“
-St. Augustine-

โลกใบนี้เปรียบเหมือนหนังสือเล่มหนึ่งและคนที่ไม่เคยเดินทางเลย ก็เปรียบเสมือนคนที่อ่านหนังสือเพียงหน้าเดียว.. St. Augustine
ได้มีโอกาสมาเรียนหนังสือหนังหา ณ แดนยุโรปมานานหลายปี มีความคิดโลดแล่นจะถ่ายทอดประสบการณ์ในต่างแดนมาก็หลายหน ผู้มีพระคุณหลายท่านในชีวิตก็ถามไถ่มาตลอดหลายครั้งหลายคราว่าในเมื่อมีโอกาสที่จะนำประสบการณ์ความรู้ที่มีจากต่างแดนในด้านต่างๆมาก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลอื่นๆต่อไปในอนาคตแล้วทำไมไม่ทำ โดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยวในยุโรป ทวีปที่ได้ชื่อว่ามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจอันดับต้นๆเมื่อมีคนพูดถึงดินแดนแห่งนี้.. จนในที่สุดวันหนึ่งฟ้าก็ประทานความตั้งใจอย่างแรงกล้าให้สามารถบังคับตัวเองถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์ต่างแดนที่เกิดขึ้นออกมาเป็นตัวอักษร เพื่อจะได้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านต่อไปอย่างไร้พรมแดน..
|
Read more...
|
สุดยอดเทศกาลรื่นเริงแดนอินทรีเหล็ก... Bierfest |
|
|
|
Written by Punnaporn Archawaranon
|
Monday, 04 February 2013 01:15 |
เรื่องและเรียบเรียง: พรรณพร อัชวรานนท์
ภาพ: กรกฎ ฉัตรชมชื่น, สุเมธ ขันแก้วผาบ, กฤษฎา ขันทะชา, พชร แก่นเมือง และ ธนะ คำรณฤทธิศร
จากคอลัมน์ "Terminal DE" (TSVD: opnmnd Magazine #2 เบียร์)

เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ชาวเยอรมันหลายๆ คนมักจะเฝ้ารอเทศกาลหนึ่งมาเยือนอย่างใจจดใจจ่อ งานนั้นจะเป็นอะไรไปมิได้ หากไม่ใช่ “เทศกาลเบียร์” อันเลื่องชื่อ ที่หาได้จำกัดความดังอยู่แค่ในประเทศเยอรมนีเท่านั้นไม่ ว่ากันว่างานดังกล่าว โดยเฉพาะออคโทเบอร์เฟสท์ (Oktoberfest) ณ เมืองมึนเช่น (München) ที่จัดกันมากว่าสองร้อยปีและยังคงเฉลิมฉลองกันอยู่จนทุกวันนี้ ยังเป็นต้นแบบเทศกาลเบียร์แรกๆ ของโลกอีกด้วย ซึ่งเทศกาลเบียร์ส่วนใหญ่ที่ว่านี้ จะมีรูปแบบเป็น Volksfest (Folk Festival) คือ งานรื่นเริงสำหรับประชาชนทั่วไป ที่ไม่ต้องเสียค่าเข้างานใดๆ
|
Read more...
|
ตุรกี: สุเหร่าสีนํ้าเงิน บ้านภูเขาหินเจาะ ปราสาทปุยฝ้ายและเตอร์กิชเคบับ |
|
|
|
Written by Punnaporn Archawaranon
|
Monday, 28 January 2013 16:57 |
เรื่อง: พรรณพร อัชวรานนท์ ภาพ: ธนะ คำรณฤทธิศร
จากคอลัมน์ "Terminal EU" (TSVD: opnmnd Magazine #2 เบียร์) 
เมื่อมีโอกาสมาร่ำเรียนหรือทำงานในประเทศเยอรมนีหรือเขตประเทศเชงเก้น (Schengen) แล้ว น้อยคนนักอยากจะเดินทางท่องเที่ยวออกนอกเขตดังกล่าว เนื่องจากการสัญจรข้ามพรมแดนประเทศต่างๆ ภายในเขตแดนนี้มีความสะดวกสบายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทั้งยังไม่ต้องยุ่งยากกับการขอวีซ่าเข้าในแต่ละประเทศอีก หากแต่ในทวีปยุโรปยังมีอีกประเทศหนึ่งนอกเขตเชงเก้น ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า (อีกต่อไป) เนื่องจากประเทศไทยเพิ่งทำข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการยกเว้นการขอวีซ่า และนั่นคือ “ประเทศตุรกี” ดินแดนแห่งสองทวีป (ยุโรป-เอเชีย) นี่เอง...
|
Read more...
|
สวีดิช ลัปป์ลันด์: โรงแรมน้ำแข็ง แสงเหนือและไซบีเรียน ฮัสกี้ |
|
|
Written by Punnaporn Archawaranon
|
Thursday, 16 August 2012 21:01 |
เรื่อง: พรรณพร อัชวรานนท์ ภาพ: ธนะ คำรณฤทธิศร
จากคอลัมน์ "Terminal EU" (TSVD: opnmnd Magazine #1 รักษ์โลก)

ท่ามกลางความร้อนระอุของยุโรปในช่วงนี้.. หลายๆคนคงจะนึกถึงเครื่องปรับอากาศในเมืองไทย ตามด้วยน้ำแข็งหรืออะไรเย็นๆ ดับความร้อนอยู่ไม่น้อย...
เราจึงขออาสาพาพวกเราไปสัมผัสความเย็นติดลบของขั้วโลกเหนือ เผื่อจะคลายความร้อนรุ่มได้บ้าง แถมด้วยการชมปรากฏการณ์ที่ปกติจะมีแต่ชาวขั้วโลกเหนือเท่านั้นที่ได้ชม นั่นคือ ปรากฏการณ์แสงเหนือ (Northern Light) หรือที่รู้จักกันในนามว่า ปรากฏการณ์แสงออโรรา (Aurora Borealis) นั่นเอง...
|
Read more...
|
|
ประสบการณ์ตรงจากนักเรียนทุน Erasmus Mundus ปี 2549/2550 ภาค 1 |
|
|
Written by Punnaporn Archawaranon
|
Sunday, 01 April 2012 14:03 |

โดย...พรรณพร อัชวรานนท์ สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อ “พรรณพร อัชวรานนท์” ชื่อเล่น “แจน” ค่ะ ได้รับทุน Erasmus Mundus ประจำปี 2549/2550 (ตุลาคม 2549 – มกราคม 2551) สาขาวิชา Euroculture

วินาทีแรกที่ได้มีโอกาสรู้จักทุน Erasmus Mundus
ความสนใจที่จะสมัครทุนนี้เริ่มมาตั้งแต่เมื่อกลางปี 2548 หลังจากที่เcรียนจบจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกอบกับมีความชื่นชอบในศิลปวัฒนธรรมของยุโรปอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วนั้น จึงได้ตัดสินใจที่จะมาศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ยุโรป แต่ในใจก็อยากจะลองสอบชิงทุนมา เนื่องจากไม่อยากรบกวนทางบ้าน ณ เวลานั้นทุน Erasmus Mundus ยังถือว่าใหม่มากสำหรับนักเรียนไทย (เมื่อเทียบกับในปัจจุบัน) เนื่องจากยังอยู่ในช่วงไม่กี่ปีที่เริ่มประกาศ (ดิฉันเป็นรุ่นที่สาม)
โดยเริ่มแรกรับทราบข่าวจากป้ายประกาศที่มหาวิทยาลัยและอ่านจากนิตยสาร หลังจากนั้นจึงได้เปิดเว็บไซต์ของทุน Erasmus Mundus ดูสาขาที่สนใจ แล้วเตรียมตัวไปสอบ IELTS หรือ TOEFL ให้ผ่านเกณฑ์ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้
|
Read more...
|
|
ประสบการณ์ตรงจากนักเรียนทุน Erasmus Mundus ปี 2549/2550 ภาค 2 |
|
|
Written by Punnaporn Archawaranon
|
Sunday, 01 April 2012 14:19 |
เมื่อคราวที่แล้ว "แจน" หรือ "พรรณพร อัชวรานนท์" ได้แนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวและระบบการศึกษาของนักศึกษาทุน Erasmus Mundus แล้ว มาภาคนี้จะขอเล่าเรื่องทั่วๆไปของชีวิตเด็กนักศึกษาทุน Erasmus Mundus ในยุโรปนะค่ะ ....
ชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษาทุน Erasmus Mundus ในยุโรป เงินทุนและการหารายได้พิเศษ

นักศึกษาทุน Erasmus Mundus จะได้รับเงินทุน 1,600 ยูโร ต่อเดือน (เป็นอัตราของปี 2549/2550) แต่ภายหลังมีการปรับเพิ่มและลดตามแต่ละสาขาวิชาและประเทศที่นักศึกษาทุนจะไปเรียน เงินจำนวนดังกล่าวมหาวิทยาลัยต้นสังกัดจะส่งให้แต่ละมหาวิทยาลัยที่เป็น Home University ดังนั้นนักศึกษาจะเริ่มต้นได้ทุนจากเดือนแรกที่มีการลงทะเบียนเรียน นักศึกษาทุน Erasmus Mundus จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสำรองค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งไปก่อนเช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก และ ค่ากินอยู่ในระยะอาทิตย์แรกๆที่เดินทางไป ถ้าถามประสบการณ์ส่วนตัวแล้วจำนวนเงินทุนดังกล่าว เป็นจำนวนที่มากเปรียบเทียบกับนักศึกษาทุนทั่วไป เมื่อนำมาบวกลบคูณหารกับค่าใช้จ่ายจริงแล้ว สามารถกินอยู่ในชีวิตประจำวันตามปกติโดยไม่ต้องไปทำงานหารายได้พิเศษเพิ่มเติม แต่คำถามที่นักศึกษาถามกันมาบ่อยที่สุดคือเรื่องการหารายได้พิเศษระหว่างเรียน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนักศึกษาทุนแต่ละคนที่ถ้าอยากไปหาประสบการณ์เพิ่มก็สามารถทำได้ แต่อาจไม่เป็นการสะดวกเพราะต้องเดินทางเปลี่ยนประเทศในการเรียนไปเรื่อยๆ ประกอบกับการหารายได้พิเศษในบางประเทศนั้นจะต้องมีบัตรประจำตัวต่างหากจากวีซ่าในหนังสือเดินทาง ซึ่งถ้านักศึกษาอยู่แค่ไม่กี่เดือนเป็นระยะสั้นในแต่ละประเทศ ก็จะไม่มีสิทธิทำบัตรดังกล่าว
การย้ายประเทศในยุโรปตามแผนการศึกษา จากประสบการณ์ส่วนตัวของดิฉัน อยากบอกว่าทุน Erasmus Mundus เป็นโอกาสการศึกษาที่ดี ที่เอื้อให้นักศีกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมยุโรป ทั้งบ้านเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ ความคิดอ่านของคนยุโรปควบคู่กับการเรียนปริญญาโทในสาขาที่ตนเองสนใจ เพราะแต่ละสาขาวิชา ต้องไปเรียนที่ประเทศต่างๆอย่างน้อย 2 ประเทศ นักศึกษาส่วนใหญ่อาจมีความตื่นเต้นก่อนที่จะไปเรียนเพราะนึกสนุกที่จะย้ายไปมาเสมือนได้มาทัวร์ยุโรป ดังเช่นที่ดิฉันได้ประสบพบเหตุการณ์มาแล้ว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ที่อาจจะชอบและไม่ชอบ
|
Read more...
|
|
|